หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชุมชนเขตหลักสี่และ“ว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่
****************************
ข้อมูลชุมชนเขตหลักสี่
สภาพทั่วไปของชุมชน
ข้อมูลพื้นฐานเขตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขต การปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่
ในกลุ่มเขตจตุรทิศโยธินซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร
- สภาพพื้นที่ ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ลักษณะทางกายภาพ
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
ที่ตั้งและอาณาเขต ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากรและคลองวัดหลักสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางเขนและคลองลาดยาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด จังหวัด
นนทบุรี มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของเขตหลักสี่ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
ที่มาของชื่อเขต ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่างๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้น ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “บ้านหลักสี่” ซึ่งชื่อหลักสี่นี้ ได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และสี่แยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตและถนนแจ้งวัฒนะ)
2) สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ประชากร
ประวัติศาสตร์ เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรแน่นหนามากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้ง “เขตหลักสี่” เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต ปัจจุบันในเขตมีชุมชนทั้งหมด 81ชุมชน แบ่งเป็นเคหะชุมชน 31 ชุมชน ชุมชนแออัด 25 ชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 12 ชุมชน และชุมชนเมือง 13 จำนวนชุมชน
การแบ่งเขตการปกครอง
พื้นที่เขตหลักสี่ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวง ได้แก่ แขวงทุ่งสองห้อง (Thung Song Hong)แขวงตลาดบางเขน (Talat Bang Khen) ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ได้ใช้คลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวง
การคมนาคม
เส้นทางสายหลัก
1) ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองวัดหลักสี่
2) ถนนงามวงศ์วาน (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองประปา
3) ถนนแจ้งวัฒนะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองถนนกับสะพานข้ามคลองประปา
4) ทางยกระดับอุตราภิมุข
เส้นทางสายรอง
5) ถนนกำแพงเพชร 6
6) ถนนพิงคนคร มีไม้กั้นทางที่จะไปชุมชนเคหะ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
7) ถนนแสนหวี เป็นถนนที่เลี่ยงไม้กั้นทาง ถนนพิงคนครได้ เมื่อมาถึงบึงใหญ่เลยไป เลี้ยวซ้ายเข้าถนนน่านเจ้าจนถึงคลองประปาจะพบถนนแสนหวี ให้เลาะคลองประปาไปจนเห็นทางตัน ให้เลี้ยวขวาซอยสุดท้าย ไปจนถึงแยกใหญ่ให้เลี้ยวซ้าย จะสามารถเข้าสู่พื้นที่เขตดอนเมืองได้
8) ถนนน่านเจ้า อยู่ทิศเหนือของบึงใหญ่ เริ่มจากถนนพิงคนคร ทิศตะวันออกของบึงใหญ่ จนถึงคลองประปา เป็นถนนแสนหวี
9) ถนนเกษตร อยู่ด้านขวาของบึงสีกัน สุดมุมบึง เลี้ยวขวาเข้าถนนเกษตร(ซอยเกษตร หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์) ตรงตลอดจนเข้าสู่ถนนสายหลัก ถนนซอยชวนชื่น 15 หมู่บ้านชวนชื่นบางเขน วิ่งตามถนนสายหลักนี้จะเข้าสู่เส้นทางถนนโกสุมรวมใจ และตรงเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนวิภาวดีรังสิต
10) ถนนชวนชื่น 15 เป็นถนนสายหลักหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน หลักสี่ เป็นถนนของทางเขตหลักสี่ จัดเป็นทางลัดเชื่อมต่อระหว่างถนนสายหลักใหญ่ ๆ คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต สามารถวิ่งเข้าออกได้หลายช่องทางทั้งทางฝั่งถนนแจ้งวัฒนะ เข้าทางซอยแจ้งวัฒนะ 10, 12, 14 (เมืองทอง 1) และฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเข้าทางซอยกำแพงเพชร 6 ซอย 5, 7
11) ถนนโกสุมรวมใจ
12) ถนนชินเขต
13) ถนนชิดชน 14) ซอยวิภาวดีรังสิต 60 และซอยพหลโยธิน 49/1 (เคหะบางบัว
ข้อมูลด้านประชากรเขตหลักสี่
ปี พ.ศ. | ประชากรชาย(คน) | ประชากรหญิง(คน) | รวมประชากรทั้งหมด(คน) |
2559 | 50,230 | 55,358 | 105,588 |
2560 | 49,695 | 55,006 | 104,701 |
2561 | 49,791 | 54,786 | 104,577 |
2562 | 49,789 | 54,496 | 104,285 |
ที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th(30/08/2563)
ชุมชนในพื้นที่เขตหลักสี่ มีจำนวน ทั้งสิ้น 81 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 301
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 302
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 303
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 304
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 305
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 306
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 307
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 308
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 309
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 310
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 311
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 312
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 313
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 315
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 316
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 317
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 318
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 319
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 320
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 321
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 322
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 323
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 324
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 325
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 327
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 328
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 329
- ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 330
- ชุมชนกคลองเปรมประชาพัฒนา
- ชุมชนก้าวหน้า
- ชุมชนลออทิพย์
- ชุมชนร่วมกิจกรุงศรีพัฒนา
- ชุมชนรัตนชัยวิลล่า
- ชุมชนไทรงาม
- ชุมชนพงษ์เพชรแจ้งวัฒนะ 14
- ชุมชนชวนชื่นบางเขน
- ชุมชน ปตอ.1 (1)
- ชุมชน ปตอ.1 (2)
- ชุมชนกองพลาธิการ
- ชุมชนกองสรรพาวุธเบา พล.1 รอ.
- ชุมชนอยู่ดีมีสุขร่วมใจ
- ชุมชนทหารเสือ
- ชุมชนแจ้งวัฒนะผาสุข
- ชุมชนศิษย์หลวงปู่ขาววัดหลักสี่
- ชุมชนตลาดหลักสี่
- ชุมชนชายคลองบางบัว
- ชุมชนบางบัว ม.อาทิตย์
- ชุมชนตรีเพชร 2
- ชุมชนเปรมสุขสันต์
- ชุมชนมิตรประชาพัฒนา
- ชุมชนอยู่แล้วรวย
- ชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางฯ
- ชุมชนกองบัญชาการศึกษา
- ชุมชนคนรักถิ่น
- ชุมชน หมู่บ้าน กฟภ.นิเวศน์ 2
- ชุมชนเคหะท่าทราย
- ชุมชนซอยชินเขต
- ชุมชนพงษ์เพชรพัฒนา
- ชุมชนร่วมพัฒนา
- ชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา
- ชุมชนเคหะบางบัว
- ชุมชนคลองบางเขน
- ชุมชนตลาดบางเขน
- ชุมชนเทวสุนทร
- ชุมชนเมาคลี
- ชุมชนแฟลตตำรวจอิสระ
- ชุมชนหลักสี่
- ชุมชนชาวลาดตระเวน
- ชุมชนหลักสี่พัฒนา 99
- ชุมชนบางบัวเชิงสะพานไม้ 1
- ชุมชนบางบัวร่วมใจพัฒนา สะพานไม้ 2
- ชุมชนหมู่บ้านราชพฤกษ์
- ชุมชนซอยพัชราภา
- ชุมชนหมู่บ้านชื่นกมลนิเวศน์ 1
- ชุมชนร่มเย็นพัฒนา
- ชุมชนยิ้มสยาม
- ชุมชนหมู่บ้านพงษ์เพชรวิลล่า
- ชุมชนมีสุข
- ชุมชนพินิจสินลออ
- ชุมชนโกสุมนิเวศน์
- ชุมชนหมู่บ้านมหานครนิเวศน์
“ว่าวไทย” ภูมิปัญญาชุมชนหลักสี่
แหล่งผลิตว่าวไทยของเขตหลักสี่ อยู่ที่ชุมชนทำว่าว ตั้งอยู่ที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ชุมชนทำว่าว เป็นชื่อเรียกชุมชนแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้น จากการที่ได้มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนประกอบอาชีพในการประดิษฐ์ว่าว ซึ่งเป็นภูมิปัญหาของคนไทยและเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านออกจำหน่ายเผยแพร่ในชุมชน ชุมชนนี้มี
ลุงกุน บุญนก เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าว
การสืบสารและสร้างสรรค์คุณค่าทางด้านศิลปะการสืบสานภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ได้รับการยอมรับของชุมชนสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่ลุงกุน บุญนก นำความรู้ด้านศิลปะการทำว่าวที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า ค้นพบ ทดลองจนประสบความสำเร็จและไปเผยแพร่ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเรียนรู้ นำไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านศิลปกรรม ประจำพุทธศักราช2548 จากสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ขั้นตอนการทำว่าวของ คุณกุน บุญนก
เริ่มจากการไปหาซื้อไม้ไผ่สีสุกที่จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และ นครศรีอยุธยา โดยจะตัดไม้ไผ่ด้วยตนเอง และเลือกตัดเฉพาะไผ่สดที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งสีของไม้ไผ่จะมีสีน้ำตาลหรือเขียวแก่ แล้วนำไม้ไผ่ที่ได้มาผ่า นำไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ไม้ไผ่มีความเหนียวและป้องกันไม่ให้มอดกินเนื้อไม้ จากนั้นนำมาตากให้แห้งแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโครงว่าว นอกจากจะทำว่าวออกจำหน่ายแล้ว ยังได้เปิดสอนการทำว่าวแก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย
ปัจจุบันผู้สืบทอดกลวิธีการทำว่าวไทยหลักสี่ รุ่นที่ 2 คือ นายสาโรจน์ บุญนก ซึ่งรับสอนการทำว่าว แก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย
บรรณานุกรม
สำนักงานเขตหลักสี่. (ม.ป.ป.). เล่าเรื่องหลักสี่. กรุงเทพฯ : ม.ป.ป.
https://www.facebook.com/ว่าวไทย-ลุงกุน -บุญนก-433079590218681
http://www.thaiwisdom.org/versionshow/4?page=6
http://sci4fun.com/kite/goon.html
http://sci4fun.com/kite/kite.html
https://stat.bora.dopa.go.th
http://www.bangkok.go.th/laksi/page/sub/6568
http://www.bangkoktourist.com/index.php/top-attractions/index?top_id=302
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/bangkokMap/Html/Map_tour/Laksi1.htm
https://www.facebook.com/sacict/posts/1772520052777580
แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่องการอ่านแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่องการอ่านแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียง
คำตอบเดียว ให้ตรงกับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง