สวนเกษตรบนดาดฟ้า วิทยาศาสตร์ ป. 4 (The Local Content in Science for Grade-4 Students)

สวนเกษตรดาดฟ้า  (Rooftop Farming at Laksi)

 สวนเกษตรดาดฟ้า  ได้ริเริ่มก่อตั้ง  พ.ศ. 2545  เริ่มจากเจ้าหน้าที่กลุ่มงานปลูกฯ  ฝ่ายรักษาความสะอาดสวนสาธารณะได้ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อรับประทานกินเองในบริเวณที่ว่างด้านหลังเขตและเจ้าของที่ดินได้มาขอที่ดินคืน  จึงเกิดความเสียหายหากยกเลิกกลางคันเพราะผักกำลังงอกงาม  จึงได้สำรวจกาพื้นที่ปลูกผัก ซึ่งในช่วงนั้นดาดฟ้าของอาคารสำนักงานเขต  เป็นที่เก็บของชำรุด  ไม่ได้ใช้ประโยชน์  จึงเห็นว่าน่าจะทำประโยชน์ได้จึงนำผักที่ปลูกใส่กระถางนำไปวางไว้บนดาดฟ้า  จากกการปลูกผักเล็กๆ  น้อยๆ  เพื่อรับประทานเองก็เริ่มปลูกผักหลายชนิด  จึงทำให้การปลูกผักหลายชนิด  จึงทำให้การปลูกผักจนเต็มพื้นที่  440  ตารางเมตร  ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  โดยยึดแนวพระราชดำริตามทฤษฎีพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงตรัสว่า  “พอเพียงคือทำให้เหมาะสมกับฐานะ”

The farm is an example of the application of King Rama X Sufficiency Economic Philosophy (SEP).

Below is one of the photographs of the farm on the rooftop.

Farming up high on the rooftop

ด้วยพื้นที่เพียง  440  ตารางเมตร  แต่สามารถปลูกผัก  ผลไม้  และสมุนไพรได้ถึง  130  ชนิด  แบ่งเป็น  โซนผัก  โซนไม้ยืนต้น  และโซนสมุนไพร  โดยมีทั้งแปลงผัก  ซุ้มผัก  กระถางผัก  และสวนหย่อมเล็กๆ  และปลูกพืชผักแบบหมุนเวียน  เน้นปลูกตามฤดูกาล  เช่น  ช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝนจะปลูกถั่วฝักยาว  ช่วงฤดูหนาวปลูกมะเขือเทศพันธุ์ไข่มุกทอง, จูเลียตเรดสวีท, คื่นฉ่าย, ผักชี, สลัดใบเขียว, สลัดใบแดง, สลัดแก้ว, กะหล่ำดอก, บล็อกโคลี่, แคนตาลูป ฯลฯ  ปลูกตลอดทั้งปี  ผักบุ้ง,  คะน้า,  ผักโขม,  ผักกาดขาวญี่ปุ่น,  ผักกาดฮ่องเต้, บวบ, ฟัก, มะระ,ต้นหอม, ปวยเล้ง, มะเขือ ฯลฯ  ผลไม้มี  ฝรั่ง, ส้ม, เสาวรส, แก้วมังกร, มะละกอ, องุ่น ฯ  เน้นผักที่ปลูกในแปลงจะต้องเป็น  ผักรากตื้น  อายุสั้น  เช่น  ผักใบต่างๆ ส่วนผักรากลึก  จะปลูกในกระสอบ  เช่น  มะเขือเทศ,  มะระ,  แตงโม, บวบ, ฟักทอง ฯลฯ  ต่อมาภายหลังมีหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาคประชาชน  ทั้งในประเทศประเทศและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน  อีกทั้งประชาชนต้องการให้เปิดอบรมการทำเกษตรอินทรีย์  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

The building where the farm is

หลักสูตรในการอบรม  ได้แก่  เทคนิคการเลือกเมล็ดพันธุ์  การเพาะการปลูก,  การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์,  การทำน้ำจุลินทรีย์ตัวขยาย  (ขยะหอม), การทำฮอร์โมน, การทำปุ๋ยใบไม้จากขยะเศษอาหาร,  การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ  การทำน้ำยาเอนกประสงค์

พืชมีดอกและพืชไร้ดอก

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งอาหารและอากาศซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์และยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่ธรรมชาติ ซึ่งพืชในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ในการจัดหมวดหมู่พืช เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่พืชที่แสดงถึงสายสัมพันธุ์ของพืชที่ใกล้ชิดที่สุดคือ การจำแนกพืชโดยการสืบพันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถแบ่งพืชได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พืชมีดอก และพืชไม่มีดอก

พืชมีดอก (Flowering Plants)

พืชมีดอก หมายถึง พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกไว้สำหรับสืบพันธุ์ จัดเป็นพืชชั้นสูงได้แก่พืชส่วนมากที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น มะม่วง ลำไย กุหลาบ มะลิ ถั่ว พริก ข้าว กล้วย อ้อย ข้าวโพด

Flowers are living things. A flower is a life form.

ดอกของพืชจำแนกได้ตามการเกิดได้ 2 ชนิด

1 ) ดอกเดี่ยว   

        คือ   ดอกที่โพล่ขึ้นมาจากก้านชูดอกเพียงก้านเดียว   เช่น กุหลาบ ดอกบัว

2)  ดอกช่อ      

        คือ  ดอกหลายๆดอก  ที่ออกมาจากก้านดอกเดียวกัน  เช่น       ดอกเข็ม   ดอกกล้วยไม้

การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก (Reproduction of Flowering Plants)

      พืชมีดอกและพืชไร้ดอก  มีวิธีแพร่พันธุ์แตกต่างกัน  พืชมีดอกจะอาศัยดอกในการสืบพันธุ์  เรียกว่า  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  และยังสามารถสืบพันธุ์โดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก  เรียกว่า การ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ  ส่วนพืชไร้ดอก  จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ    

พืชไร้ดอก (Non-flowering Plants)

 พืชไร้ดอก หมายถึง  พืชที่ตลอดการดำรงชีวิตไม่สามารถออกดอกเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ พืชไร้ดอกคือพืชชนิดหนึ่งที่ไม่มีดอก ไม่สามารถสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด แต่พืชไร้ดอกจะใช้การผสมพันธุ์โดยแบ่งเซลล์ การแตกหน่อ และการใช้ สปอร์ เช่น เฟิร์น มอส ตะไคร่น้ำ  สาหร่าย ปรง  เป็นต้น พืชไร้ดอกจะเป็นพืชชั้นต่ำ เป็นพืชที่มีส่วนประกอบไม่ครบถ้วนเหมือนกับพืชดอก

แบบทดสอบ เรื่อง การจัดจำแนกพืชโดยใช้การมีดอกและไม่มีดอกเป็นเกณฑ์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร

*****************************************************

คำชี้แจง ให้นักเรียนจัดจำแนกพืชโดยใช้เกณฑ์การมีดอกและไม่มีดอกเป็นเกณฑ์

แบบทดสอบ เรื่อง การจัดจำแนกพืชโดยใช้การมีดอกและไม่มีดอกเป็นเกณฑ์

แบบทดสอบ เรื่อง การจัดจำแนกพืชโดยใช้การมีดอกและไม่มีดอกเป็นเกณฑ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
*****************************************************
คำชี้แจง ให้นักเรียนจัดจำแนกพืชโดยใช้เกณฑ์การมีดอกและไม่มีดอกเป็นเกณฑ์

คณิตศาสตร์ ป.4 – Mathematics for Grade 4

คลองเปรมประชากร ( Khlong Prem Prachakon) หรือชื่อเดิมว่า คลองสวัสดิ์เปรมประชากรเป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2413 เนื่องจากทรงเห็นว่าการเดินเรือขึ้นล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีเส้นทางอ้อมไปมาทำให้เสียเวลาในการเดินทางมากในยุครัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการ ขุดคลองเปรมประชากร เพื่อเป็นคลองลัดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน ทำให้เชื่อมกับ “คลองผดุงกรุงเกษม” หน้าวัดโสมนัสราชวรวิหาร ที่ได้ขุดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้ทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ในการนี้รัชกาลที่ 5 ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2,544 ชั่ง 2 ตำลึง หรือประมาณ 203,520 บาท ในการขุดทั้งหมด

Map of the Canal

คลองเปรมประชากร เป็นคลองที่มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับคลองผดุงกรุงเกษม ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไหลผ่านเขตดุสิต เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก (จังหวัดปทุมธานี) และไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จากการสำรวจกรุงเทพมหานคร มีคลองจำนวน 1,161 แห่ง และคู ลำราง ลำกระโดง จำนวน 521 แห่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อกันสำหรับคลองเปรมประชากรเป็นอีกคลองหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำ

เริ่มการขุดตั้งแต่จุดเชื่อมคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งปักหลักเสาที่หนึ่ง บริเวณทำเนียบรัฐบาล

หลักที่สอง บริเวณสถานีสูบน้ำบางซื่อ เขตบางซื่อ

หลักที่สาม บริเวณชุมชนวัดเสมียนนารี เขตจตุจักร

หลักที่สี่ บริเวณวัดหลักสี่ หรือชุมชนหลักสี่ เขตหลักสี่

หลักที่ห้า ชุมชนดอนเมือง เขตดอนเมือง


ถัดมาหลักที่หก วัดรังสิต ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี

หลักที่เจ็ด วัดเปรมประชากร ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี

หลักที่แปด บริเวณศูนย์พัฒนาเด็ก แยกคลองบางสิงห์ ต.สวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี

หลักที่เก้า บริเวณวัดเวฬุวัน ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี

หลักที่สิบ บริเวณสถานีรถไฟเชียงรากน้อย (ธรรมศาสตร์ รังสิต) ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี


หลักที่สิบเอ็ด บริเวณวัดโพธิ์นิ่มรัตตาราม (วัดคลองขุด) ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

หลักที่สิบสอง บริเวณวัดเปรมประชากร ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี

และหลักที่สิบสาม ถูกตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีสูบน้ำบางปะอินเหนือ ต.บางกระสั้น อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

คำว่า คลอง ในภาษาอังกฤษคือ Canal


ตั้งแต่หลักเสาที่หนึ่ง…ถึงหลักที่สิบสาม แต่ละหลักห่างกัน 100 เส้น หรือ 4 กม. เป็นระยะทาง 1,271 เส้น หรือ 50,846 เมตร หรือ 50.846 กม. ความกว้าง 5 วา หรือประมาณ 10 เมตรดำเนินการขุดมาตั้งแต่ พ.ศ.2412 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2413 รวมใช้เวลา 18 เดือน ถือเป็นคลองขุดสายแรกของรัชกาลที่ 5 และโปรดฯ ให้จัดพระราชพิธีฉลองคลอง มีมหรสพต่างๆมากมายและพระราชทานชื่อว่า คลองเปรมประชากร จนถึงปัจจุบันนี้
ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/1607648


แบบทดสอบ เรื่อง การประมาณค่า
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร


คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

  1. ในการนี้รัชกาลที่ 5 ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2,544 ชั่ง 2 ตำลึง หรือประมาณ 203,520 บาท ในการขุดทั้งหมด ค่าประมาณของจำนวนที่ขีดเส้นใต้ มีค่าเท่ากับข้อใด
    ก. 2,500 ชั่ง
    ข. 2,400 ชั่ง
    ค. 2,000 ชั่ง
    ง. 2,600 ชั่ง
  2. จากข้อที่ 1 จำนวน 203,520 บาท มีค่าประมาณเท่าไร
    ก. 100,000 บาท
    ข. 150,000 บาท
    ค. 200,000 บาท
    ง. 250,000 บาท
  3. ระยะทางตั้งแต่หลักเสาที่หนึ่งถึงหลักที่สิบสาม เป็นระยะทาง 1,271 เส้น ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนที่ขีดเส้นใต้มีค่าเท่าใด
    ก. 1,270 เส้น
    ข. 1,300 เส้น
    ค. 2,000 เส้น
    ง. 1,000 เส้น
  4. จากการสำรวจกรุงเทพมหานคร มีคลองจำนวน 1,161 แห่ง และคู ลำราง ลำกระโดง จำนวน 521 แห่ง
    รวมมีคลอง และคู ลำราง ลำกระโดง ทั้งหมดกี่แห่ง
    ก. 1,600 แห่ง
    ข. 1,882 แห่ง
    ค. 1,782 แห่ง
    ง. 1,682 แห่ง
  5. จากคำตอบข้อที่ 4 มีค่าประมาณเท่าใด
    ก. 1,600 แห่ง
    ข. 1,700 แห่ง
    ค. 1,500 แห่ง
    ง. 1,400 แห่ง
  6. ระยะทางตั้งแต่หลักเสาที่หนึ่งถึงหลักที่สิบสาม เป็นระยะทาง 50,846 เมตร ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนที่ขีดเส้นใต้มีค่าเท่าใด
    ก. 30,000 เมตร
    ข. 40,000 เมตร
    ค. 50,000 เมตร
    ง. 60,000 เมตร
  7. ยะทางตั้งแต่หลักเสาที่หนึ่งถึงหลักที่สิบสาม เป็นระยะทาง 50,846 เมตร ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนที่ขีดเส้นใต้มีค่าเท่าใด
    ก. 50,000 เมตร
    ข. 50,900 เมตร
    ค. 50,800 เมตร
    ง. 60,000 เมตร
  8. ระยะทางตั้งแต่หลักเสาที่หนึ่งถึงหลักที่สิบสาม เป็นระยะทาง 50,846 เมตร ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนที่ขีดเส้นใต้มีค่าเท่าใด
    ก. 50,840 เมตร
    ข. 50,850 เมตร
    ค. 50,860 เมตร
    ง. 50,870 เมตร
  9. สำนักงานเขตใดไม่เกี่ยวข้องกับคลองเปรมประชากร
    ก. เขตหลักสี่
    ข. เขตดอนเมือง
    ค. เขตลาดพร้าว
    ง. เขตจตุจักร
  10. คลองเปรมประชากร มีจุดเริ่มต้นที่เขตใดและสิ้นสุดที่ใด
    ก. เริ่มต้นที่เขตหลักสี่ สิ้นสุดที่เขตดอนเมือง
    ข. เริ่มต้นที่เขตดุสิต สิ้นสุดที่อำเภอบางปะอิน
    ค. เริ่มต้นที่เขตลาดพร้าว สิ้นสุดที่เขตหลักสี่
    ง. เริ่มต้นที่เขตจตุจักร สิ้นสุดที่เขตหลักสี่

Math Laksi Grade 4 แบบทดสอบ เรื่อง การประมาณค่า

แบบทดสอบ เรื่อง การประมาณค่า
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
*****************************************************
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว


Translate »