Local Curriculum: Career Preparation Department: Grade 3 – Thai Kites
หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สืบสาน “ว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่ (การทำว่าวไทย : นายกุน บุญนก)
หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สืบสาน “ว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่ (การทำว่าวไทย : นายกุน บุญนก)
ที่อยู่ : 304/686 หมู่ที่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว ซ.พหลโยธิน 49/1 ถ.พหลโยธิน
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
สืบสาน “ว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่
แหล่งผลิตว่าวไทยของเขตหลักสี่ อยู่ที่ชุมชนทำว่าว ตั้งอยู่ที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ชุมชนทำว่าว เป็นชื่อเรียกชุมชนแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้น จากการที่ได้มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนประกอบอาชีพในการประดิษฐ์ว่าว ซึ่งเป็นภูมิปัญหาของคนไทยและเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านออกจำหน่ายเผยแพร่ในชุมชน ชุมชนนี้มี ลุงกุน บุญนก เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าว
ลุงกุน บุญนก เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำว่าวพื้นบ้านทุกชนิด ผลงาน
การสืบสานและสร้างสรรค์คุณค่าทางด้านศิลปะ การสืบสานภูมิปัญญาที่เป็น
ลุงกุน บุญนก ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว ซอยพหลโยธิน 49/1 ถนนพหลโยธิน แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ พื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดนครสวรรค์ เคยรับราชการเป็นครูสอน งานช่างประดิษฐ์ แต่ด้วยความที่มีใจรักเรื่องเกี่ยวกับว่าวมาโดยตลอด ดังนั้นหลังจากเกษียณราชการแล้ว ได้ประกอบอาชีพโดยการประดิษฐ์ว่าวออกจำหน่าย โดยออกแบบว่าวให้มีลวดลายแปลกใหม่ด้วยความคิดของตัวเอง ว่าวที่ประดิษฐ์ออกจำหน่ายมีหลายแบบ หลายชนิด เช่น ว่าวนกฮูก ว่าวปลาเงินปลาทอง ว่าวผีเสื้อ ว่าวมังกร ว่าวหกเหลี่ยม ว่าวพญาครุฑ ฯลฯ
ขั้นตอนการทำว่าวขอ คุณกุน บุญนก เริ่มจากการไปหาซื้อไม้ไผ่สีสุกที่จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และ นครศรีอยุธยา โดยจะตัดไม้ไผ่ด้วยตนเอง และเลือกตัดเฉพาะไผ่สดที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งสีของไม้ไผ่จะมีสีน้ำตาลหรือเขียวแก่ แล้วนำไม้ไผ่ที่ได้มาผ่า นำไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ไม้ไผ่มีความเหนียวและป้องกันไม่ให้มอดกินเนื้อไม้ จากนั้นนำมาตากให้แห้งแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโครงว่าว นอกจากจะทำว่าวออกจำหน่ายแล้ว ยังได้เปิดสอนการทำว่าวแก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย
ปัจจุบันผู้สืบทอดกลวิธีการทำว่าวไทยหลักสี่ รุ่นที่ 2 คือ นายสาโรจน์ บุญนก ซึ่งรับสอนการทำว่าว แก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย
ว่าวปักเป้า (The Pakpao kite)
ว่าวปักเป้ามีลักษณะเช่นเดียวกับว่าวอีลุ้ม แต่มีไม้ส่วนโครง ที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของว่าวอีลุ้ม จึงต้องมีหางที่ทำด้วยผ้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่เป็นเส้นยาวถ่วงอยู่ที่ส่วนก้น เมื่อชักขึ้นลอยไปอยู่ในอากาศแล้วจะไม่ลอยอยู่เฉยๆ จะส่ายตัวไปมา และเมื่อถูกคนชักกระตุกสายเชือกตามวิธีการแล้ว จะเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวไปมาท่าทางต่างๆ ตามต้องการ
วัสดุและอุปกรณ์
- ไม้ขนาดเบา 2 ชิ้น ชิ้นที่สองสั้นกว่าชิ้นแรกประมาณ 1/6
- ด้ายไนล่อนขาว
- กระดาษว่าว
- กาวลาเท็กซ์
- กรรไกร
- คัตเตอร์
- ดินสอ
- เข็ม
ขั้นตอนการทำ - นำไม้ปีกมาวางขวางไม้อก โดยห่างจากส่วนหัวของไม้อก 1 ใน 5 และวัดสัดส่วนของไม้ปีกทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน แล้วใช้ด้ายมัดจุดตัดให้แน่น
- ผูกด้ายจากปลายไม้ปีกทั้ง 2 ข้าง ถึงก้นว่าว โดยดึงไม้ปีกทั้ง 2 ข้างให้โค้งเท่ากัน
- ผูกด้ายจากยอดของไม้อกไปยังไม้ปีกทั้ง 2 ข้าง และทิ้งปลายด้ายไว้ ประมาณ 5 เซนติเมตร
- ผูกด้ายซอยสะพายแล่งจากไม้อกไปยังไม้ปีก เพื่อดึงไม้เป็นจุด ๆ
- วางโครงว่าวบนกระดาษ และตัดกระดาษให้ห่างจากตัวโครงว่าวประมาณ 1 นิ้ว แล้วพับกระดาษเข้าหาตัวโครงว่าวและใช้กาวติดทั้ง 4 มุม
- แปะดอกว่าวทั้งด้านหน้าและด้านหลังว่าวให้เกิดความสวยงาม
- ตัดกระดาษเป็นริ้วๆ แล้วม้วน เพื่อนำไปทำพู่ จำนวน 2 ชิ้น
- นำพู่ไปผูกกับปลายด้ายของปีกที่เผื่อไว้ในขั้นตอนที่ 3 ทั้ง 2 ข้าง
- ใช้เข็มเจาะบริเวณจุดที่ตัดกันของไม้อกและไม้ปีกและบริเวณด้านล่าง
ถัดลงมาประมาณ 7 เซนติเมตร - นำด้ายมาร้อยผ่านทั้ง 2 รูที่เจาะไว้แล้วผูกปลายด้านทั้ง 2 ข้างกับไม้ให้แน่น
- เจาะรูด้านล่างตรงกลางของก้นว่าว เพื่อร้อยด้ายไว้ผูกกับหางว่าว
- นำด้ายมาร้อยให้เป็นหางว่าว แล้วผูกปลายด้ายกับไม้ให้แน่นและปล่อยปลายด้ายทิ้งไว้ประมาณ 30 เซนติเมตร
- ตัดกระดาษยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อนำไปทำเป็นหางว่าว นำหางว่าวไปผูกติด กับด้ายที่ปล่อยชายทิ้งไว้ในขั้นตอนที่ 12 นำด้ายพร้อมหลอดด้ายที่เหลือมาผูกกับด้ายที่ผูกไว้ในขั้นตอนที่ 10 ในมุม 60 องศา
Preserving and Enhancing “Thai Kite” — The Wisdom of Lak Si People
(Thai kite making: Mr. Bun Bunnok)
ที่อยู่ : 304/686 หมู่ที่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว ซ.พหลโยธิน 49/1 ถ.พหลโยธิน แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Address: 304/686 Village No. 3, Bang Bua National Housing Authority, Soi Phahonyothin 49/1, Phahonyothin Rd. Talat Bang Khen Subdistrict, Lak Si District, Bangkok 10210
Preserving and Enhancing “Thai Kites”
The Wisdom of Lak Si People
The importance of Thai kites for Lak Si and the people of Lak Si is obvious from the motto of the district – “ Famous Lak Si Temple, Thai Kite Center, Renowned Khon Masks, and Beautiful Lak Si District.”
Lak Si district has a famous Buddhist temple called ‘Lak Si Temple.’ It has a Thai kite making community. Besides, it is also a place where Khon masks are produced. All in all, Lak Si is a wonderful place.
The Kit Making Community
The community of kite makers is the name given to one community in Lak Si district. Due to the fact that there are people living in the community working in the creation of kites. As we know, kite making is an intellectual product of Thai people and is a local handicraft for distribution within and outside of the community. This community has Uncle Kun Bunnok as the community leader in kite making.
The picture below is Uncle Kun Bunnok.
Pictures of the Kites
References
Lak Si District Office (Por.Por.Por.). The Story of Lak Si. Bangkok (In Thai).
https://www.facebook.com/ว่าวไทย-ลุงกุน -บุญนก-433079590218681
http://www.thaiwisdom.org/versionshow/4?page=6
http://sci4fun.com/kite/goon.html
http://sci4fun.com/kite/kite.html
http://www.bangkok.go.th/laksi/page/sub/6568
http://www.bangkoktourist.com/index.php/top-attractions/index?top_id=302
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/bangkokMap/Html/Map_tour/Laksi1.htm
แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น
แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง สืบสาน “ว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่
คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ให้ตรงกับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง
- ชุมชนทำว่าวของเขตหลักสี่ ตั้งอยู่ที่ชุมชนใด
ก. ชุมชนตลาดบางเขน
ข. ชุมชนเคหะบางบัว
ค. ชุมชนตลาดหลักสี่
ง. ชุมชนหลักสี่พัฒนา 99 - บุคคลใดเป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าว ของเขตหลักสี่
ก. นายนิเวศ แววสมณะ
ข. นายสาโรจน์ บุญนก
ค. นายเสน่ห์ มากโฉม
ง. นายกุน บุญนก - บุคคลที่เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าว เขตหลักสี่ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในด้านใดประจำปีพุทธศักราช 2548
ก. ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านหัตกรรม
ข. ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านศิลปกรรม
ค. ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านจิตรกรรม
ง. ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านเกษตรกรรม - จากรูปภาพเป็นว่าวชนิดใด
ก. ว่าวควาย
ข. ว่าวจุฬา
ค. ว่าววงเดือน
ง. ว่าวหกเหลี่ยม - ในการทำโครงว่าว ของชุมชนทำว่าวเขตหลักสี่ จะเลือกใช้ไม้ไผ่ชนิดใด
ก. ไผ่สีสุก
ข. ไผ่เลี้ยง
ค. ไผ่รวก
ง. ไผ่เหลือง - ชุมชนทำว่าวเขตหลักสี่ จะเลือกใช้ไผ่สดที่มีอายุตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป ในการนำมาทำว่าว
ก. ไผ่สดอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
ข. ไผ่สดอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
ค. ไผ่สดอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป
ง. ไผ่สดอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป - เพราะเหตุใด ก่อนที่จะนำไม้ไผ่มาใช้ในการทำโครงว่าว จึงต้องนำไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 เดือน
ก. ให้เก็บไว้ใช้ได้นานๆ
ข. เพิ่มลวดลายให้กับเนื้อไม้
ค. ป้องกันไม่ให้มอดกินเนื้อไม้
ง. มีวัสดุในการทำว่าวได้ตลอดเวลา - ในการทำว่าวปักเป้า ไม้ที่อยู่ในแนวตั้งเรียกว่าอะไร
ก. ไม้อก
ข. ไม้ปีก
ค. ไม้แบบ
ง. ไม้ปักเป้า - ถ้านักเรียนไม่มีกระดาษว่าว ควรเลือกใช้สิ่งใดแทนจึงจะเหมาะสมที่สุด
ก. สมุดวิชาการงานอาชีพ
ข. กล่องลังกระดาษ
ค. หนังสือพิมพ์
ง. กระดาษทิชชู - ทำไมว่าวของชุมชนทำว่าวเขตหลักสี่ จึงยังได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ก. ว่าวมีราคาถูก หาซื้อง่าย
ข. ว่าวที่ทำออกจำหน่าย มีแบบซ้ำๆ เหมือนเดิม
ค. มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
ง. ออกแบบว่าวให้มีลวดลายแปลกใหม่ตลอดเวลา
Words You Should Know
Vocabulary : สืบสานว่าวไทย ภูมิปัญญาหลักสี่
- Kite (ไคท) แปว่า ว่าว
- Community (คะ-มิว-นิ-ที) แปลว่า ชุมชน
- Create (ครี-เอท) แปลว่า สร้าง, ประดิษฐ์
- Craft (คราฟท) แปลว่า งานศิลปะที่ทำด้วยมือ, หัตถกรรม
- Teach (ทีช) อบรม, สอน
- Green (กรีน) แปลว่า สีเขียว
- Step (สะ-เต็ป) แปลว่า ขั้นตอน, วิธีการ
- Career (คะ-เรียร์) แปลว่า อาชีพ
- Bamboo (แบม-บู) แปลว่า ต้นไผ่, ไม้ไผ่
- Sell (เซล) แปลว่า ขาย, จำหน่าย
หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ป.3
คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ให้ตรงกับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง