กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (Grade 5 Mathematics)

หลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชุมชนเขตหลักสี่และว่าวไทย” ภูมิปัญญาหลักสี่  

****************************

ข้อมูลชุมชนเขตหลักสี่

สภาพทั่วไปของชุมชน

ข้อมูลพื้นฐานเขตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขต การปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่

ในกลุ่มเขตจตุรทิศโยธินซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง    ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร

  1. สภาพพื้นที่ ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ลักษณะทางกายภาพ

โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคมติดต่อสื่อสาร

                ที่ตั้งและอาณาเขต  ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

                ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากรและคลองวัดหลักสี่เป็นเส้นแบ่งเขต

        ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต

                 ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางเขนและคลองลาดยาวเป็นเส้นแบ่งเขต

        ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด จังหวัด

นนทบุรี มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต

        ลักษณะภูมิอากาศ

                ลักษณะภูมิอากาศของเขตหลักสี่ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่

                   ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน

                   ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม

                   ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม

 ที่มาของชื่อเขต  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่างๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้น ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “บ้านหลักสี่” ซึ่งชื่อหลักสี่นี้ ได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และสี่แยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตและถนนแจ้งวัฒนะ)

         2) สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ประชากร

ประวัติศาสตร์  เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรแน่นหนามากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ  จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้ง “เขตหลักสี่” เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต ปัจจุบันในเขตมีชุมชนทั้งหมด 81ชุมชน แบ่งเป็นเคหะชุมชน 31 ชุมชน ชุมชนแออัด 25 ชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 12 ชุมชน และชุมชนเมือง 13 จำนวนชุมชน

 การแบ่งเขตการปกครอง  

พื้นที่เขตหลักสี่ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวง ได้แก่ แขวงทุ่งสองห้อง (Thung Song Hong)แขวงตลาดบางเขน (Talat Bang Khen) ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ได้ใช้คลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวง

        การคมนาคม

เส้นทางสายหลัก

1) ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองวัดหลักสี่

2) ถนนงามวงศ์วาน (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองประปา

3) ถนนแจ้งวัฒนะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองถนนกับสะพานข้ามคลองประปา

                    4) ทางยกระดับอุตราภิมุข

                    เส้นทางสายรอง

                    5) ถนนกำแพงเพชร 6

                    6) ถนนพิงคนคร มีไม้กั้นทางที่จะไปชุมชนเคหะ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง

          7) ถนนแสนหวี เป็นถนนที่เลี่ยงไม้กั้นทาง ถนนพิงคนครได้ เมื่อมาถึงบึงใหญ่เลยไป เลี้ยวซ้ายเข้าถนนน่านเจ้าจนถึงคลองประปาจะพบถนนแสนหวี ให้เลาะคลองประปาไปจนเห็นทางตัน ให้เลี้ยวขวาซอยสุดท้าย ไปจนถึงแยกใหญ่ให้เลี้ยวซ้าย จะสามารถเข้าสู่พื้นที่เขตดอนเมืองได้

8) ถนนน่านเจ้า อยู่ทิศเหนือของบึงใหญ่ เริ่มจากถนนพิงคนคร ทิศตะวันออกของบึงใหญ่ จนถึงคลองประปา เป็นถนนแสนหวี

9) ถนนเกษตร อยู่ด้านขวาของบึงสีกัน สุดมุมบึง เลี้ยวขวาเข้าถนนเกษตร(ซอยเกษตร หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์) ตรงตลอดจนเข้าสู่ถนนสายหลัก ถนนซอยชวนชื่น 15 หมู่บ้านชวนชื่นบางเขน วิ่งตามถนนสายหลักนี้จะเข้าสู่เส้นทางถนนโกสุมรวมใจ และตรงเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนวิภาวดีรังสิต

10) ถนนชวนชื่น 15 เป็นถนนสายหลักหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน หลักสี่ เป็นถนนของทางเขตหลักสี่ จัดเป็นทางลัดเชื่อมต่อระหว่างถนนสายหลักใหญ่ ๆ คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต สามารถวิ่งเข้าออกได้หลายช่องทางทั้งทางฝั่งถนนแจ้งวัฒนะ เข้าทางซอยแจ้งวัฒนะ 10, 12, 14 (เมืองทอง 1) และฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเข้าทางซอยกำแพงเพชร 6 ซอย 5, 7

11) ถนนโกสุมรวมใจ

                 12) ถนนชินเขต

                 13) ถนนชิดชน                  14) ซอยวิภาวดีรังสิต 60 และซอยพหลโยธิน 49/1 (เคหะบางบัว

ข้อมูลด้านประชากรเขตหลักสี่

ปี พ.ศ.ประชากรชาย(คน)ประชากรหญิง(คน)รวมประชากรทั้งหมด(คน)
255950,23055,358105,588
256049,69555,006104,701
256149,79154,786104,577
256249,78954,496104,285

ที่มา :  https://stat.bora.dopa.go.th(30/08/2563)

ชุมชนในพื้นที่เขตหลักสี่ มีจำนวน ทั้งสิ้น 81 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 301
  2. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 302
  3. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 303
  4. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 304
  5. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 305
  6. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 306
  7. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 307
  8. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 308
  9. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 309
  10. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 310
  11. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 311
  12. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 312
  13. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 313
  14. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 315
  15. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 316
  16. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 317
  17. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 318
  18. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 319
  19. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 320
  20. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 321
  21. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 322
  22. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 323
  23. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 324
  24. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 325
  25. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 327
  26. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 328
  27. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 329
  28. ชุมชนเคหะ ฯ ทุ่งสองห้อง 330
  29. ชุมชนกคลองเปรมประชาพัฒนา
  30. ชุมชนก้าวหน้า
  31. ชุมชนลออทิพย์
  32. ชุมชนร่วมกิจกรุงศรีพัฒนา
  33. ชุมชนรัตนชัยวิลล่า
  34. ชุมชนไทรงาม
  35. ชุมชนพงษ์เพชรแจ้งวัฒนะ 14
  36. ชุมชนชวนชื่นบางเขน
  37. ชุมชน ปตอ.1 (1)
  38. ชุมชน ปตอ.1 (2)
  39. ชุมชนกองพลาธิการ
  40. ชุมชนกองสรรพาวุธเบา พล.1 รอ.
  41. ชุมชนอยู่ดีมีสุขร่วมใจ
  42. ชุมชนทหารเสือ
  43. ชุมชนแจ้งวัฒนะผาสุข
  44. ชุมชนศิษย์หลวงปู่ขาววัดหลักสี่
  45. ชุมชนตลาดหลักสี่
  46. ชุมชนชายคลองบางบัว
  47. ชุมชนบางบัว ม.อาทิตย์
  48. ชุมชนตรีเพชร 2
  49. ชุมชนเปรมสุขสันต์
  50. ชุมชนมิตรประชาพัฒนา
  51. ชุมชนอยู่แล้วรวย
  52. ชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางฯ
  53. ชุมชนกองบัญชาการศึกษา
  54. ชุมชนคนรักถิ่น
  55. ชุมชน หมู่บ้าน กฟภ.นิเวศน์ 2
  56. ชุมชนเคหะท่าทราย
  57. ชุมชนซอยชินเขต
  58. ชุมชนพงษ์เพชรพัฒนา
  59. ชุมชนร่วมพัฒนา
  60. ชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา
  61. ชุมชนเคหะบางบัว
  62. ชุมชนคลองบางเขน
  63. ชุมชนตลาดบางเขน
  64. ชุมชนเทวสุนทร
  65. ชุมชนเมาคลี
  66. ชุมชนแฟลตตำรวจอิสระ
  67. ชุมชนหลักสี่
  68. ชุมชนชาวลาดตระเวน
  69. ชุมชนหลักสี่พัฒนา 99
  70. ชุมชนบางบัวเชิงสะพานไม้ 1
  71. ชุมชนบางบัวร่วมใจพัฒนา สะพานไม้ 2
  72. ชุมชนหมู่บ้านราชพฤกษ์
  73. ชุมชนซอยพัชราภา
  74. ชุมชนหมู่บ้านชื่นกมลนิเวศน์ 1
  75. ชุมชนร่มเย็นพัฒนา
  76. ชุมชนยิ้มสยาม
  77. ชุมชนหมู่บ้านพงษ์เพชรวิลล่า
  78. ชุมชนมีสุข
  79. ชุมชนพินิจสินลออ
  80. ชุมชนโกสุมนิเวศน์
  81. ชุมชนหมู่บ้านมหานครนิเวศน์

“ว่าวไทย” ภูมิปัญญาชุมชนหลักสี่

 แหล่งผลิตว่าวไทยของเขตหลักสี่  อยู่ที่ชุมชนทำว่าว  ตั้งอยู่ที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว  เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร  ชุมชนทำว่าว  เป็นชื่อเรียกชุมชนแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้น  จากการที่ได้มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนประกอบอาชีพในการประดิษฐ์ว่าว  ซึ่งเป็นภูมิปัญหาของคนไทยและเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านออกจำหน่ายเผยแพร่ในชุมชน  ชุมชนนี้มี

ลุงกุน  บุญนก  เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าว

        การสืบสารและสร้างสรรค์คุณค่าทางด้านศิลปะการสืบสานภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์  ทำให้ได้รับการยอมรับของชุมชนสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  การที่ลุงกุน บุญนก นำความรู้ด้านศิลปะการทำว่าวที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า ค้นพบ ทดลองจนประสบความสำเร็จและไปเผยแพร่  ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเรียนรู้  นำไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ  เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคม  จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4  ด้านศิลปกรรม  ประจำพุทธศักราช2548 จากสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ขั้นตอนการทำว่าวของ คุณกุน บุญนก

เริ่มจากการไปหาซื้อไม้ไผ่สีสุกที่จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และ นครศรีอยุธยา โดยจะตัดไม้ไผ่ด้วยตนเอง และเลือกตัดเฉพาะไผ่สดที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งสีของไม้ไผ่จะมีสีน้ำตาลหรือเขียวแก่ แล้วนำไม้ไผ่ที่ได้มาผ่า นำไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ไม้ไผ่มีความเหนียวและป้องกันไม่ให้มอดกินเนื้อไม้ จากนั้นนำมาตากให้แห้งแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโครงว่าว นอกจากจะทำว่าวออกจำหน่ายแล้ว ยังได้เปิดสอนการทำว่าวแก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย
ปัจจุบันผู้สืบทอดกลวิธีการทำว่าวไทยหลักสี่ รุ่นที่ 2 คือ นายสาโรจน์ บุญนก ซึ่งรับสอนการทำว่าว แก่ผู้ที่สนใจและต้องการนำไปประกอบอาชีพต่อไปอีกด้วย

บรรณานุกรม

สำนักงานเขตหลักสี่. (ม.ป.ป.). เล่าเรื่องหลักสี่. กรุงเทพฯ : ม.ป.ป.
https://www.facebook.com/ว่าวไทย-ลุงกุน -บุญนก-433079590218681
http://www.thaiwisdom.org/versionshow/4?page=6
http://sci4fun.com/kite/goon.html
http://sci4fun.com/kite/kite.html
https://stat.bora.dopa.go.th
http://www.bangkok.go.th/laksi/page/sub/6568
http://www.bangkoktourist.com/index.php/top-attractions/index?top_id=302
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/bangkokMap/Html/Map_tour/Laksi1.htm
https://www.facebook.com/sacict/posts/1772520052777580

แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 เรื่องการอ่านแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ

แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

เรื่องการอ่านแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ

คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียง
            คำตอบเดียว ให้ตรงกับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง

Translate »