หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์
สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่
สำนักงานเขตหลักสี่ ชั้น 8 เลขที่ 999 ซ.แจ้งวัฒนะ 10 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
1. ที่มาของสวนเกษตรดาดฟ้า สำนักเขตหลักสี่
สวนเกษตรดาดฟ้า ได้ริเริ่มก่อตั้ง พ.ศ. 2545 เริ่มจากเจ้าหน้าที่กลุ่มงานปลูกฯ ฝ่ายรักษาความสะอาดสวนสาธารณะได้ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อรับประทานกินเองในบริเวณที่ว่างด้านหลังเขตและเจ้าของที่ดินได้มาขอที่ดินคืน จึงเกิดความเสียหายหากยกเลิกกลางคันเพราะผักกำลังงอกงาม จึงได้สำรวจพื้นที่ปลูกผัก ซึ่งในช่วงนั้นดาดฟ้าของอาคารสำนักงานเขต เป็นที่เก็บของชำรุด ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงเห็นว่าน่าจะทำประโยชน์ได้จึงนำผักที่ปลูกใส่กระถางนำไปวางไว้บนดาดฟ้า จากกการปลูกผักเล็กๆ น้อยๆ เพื่อรับประทานเองก็เริ่มปลูกผักหลายชนิด จึงทำให้การปลูกผักหลายชนิด จึงทำให้การปลูกผักจนเต็มพื้นที่ 440 ตารางเมตร ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยยึดแนวพระราชดำริตามทฤษฎีพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงตรัสว่า “พอเพียงคือทำให้เหมาะสมกับฐานะ”
ด้วยพื้นที่เพียง 440 ตารางเมตร แต่สามารถปลูกผัก ผลไม้ และสมุนไพรได้ถึง 130 ชนิด แบ่งเป็น โซนผัก โซนไม้ยืนต้น และโซนสมุนไพร โดยมีทั้งแปลงผัก ซุ้มผัก กระถางผัก และสวนหย่อมเล็กๆ และปลูกพืชผักแบบหมุนเวียน เน้นปลูกตามฤดูกาล เช่น ช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝนจะปลูกถั่วฝักยาว ช่วงฤดูหนาวปลูกมะเขือเทศพันธุ์ไข่มุกทอง, จูเลียตเรดสวีท, คื่นฉ่าย, ผักชี, สลัดใบเขียว, สลัดใบแดง, สลัดแก้ว, กะหล่ำดอก, บล็อกโคลี่, แคนตาลูป ฯลฯ ปลูกตลอดทั้งปี ผักบุ้ง, คะน้า, ผักโขม, ผักกาดขาวญี่ปุ่น, ผักกาดฮ่องเต้, บวบ, ฟัก, มะระ,ต้นหอม, ปวยเล้ง, มะเขือ ฯลฯ ผลไม้มี ฝรั่ง, ส้ม, เสาวรส, แก้วมังกร, มะละกอ, องุ่น ฯ เน้นผักที่ปลูกในแปลงจะต้องเป็น ผักรากตื้น อายุสั้น เช่น ผักใบต่างๆ ส่วนผักรากลึก จะปลูกในกระสอบ เช่น มะเขือเทศ, มะระ, แตงโม, บวบ, ฟักทอง ฯลฯ ต่อมาภายหลังมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ทั้งในประเทศประเทศและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน อีกทั้งประชาชนต้องการให้เปิดอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
From a rooftop farm to a learning center
จากสวนเกษตรดาดฟ้า กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่
สวนเกษตรดาดฟ้า เขตหลักสี่ กลายเป็นอีกแหล่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้กับหน่วยงานต่างๆ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะชุมชนเมือง จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวนมาก และประชาชนได้ขอให้เปิดอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเขตหลักสี่ จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์แบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับประชาชนทั่วไปโดยเปิดอบรมในวันเสาร์เว้นเสาร์ของทุกเดือน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เริ่มเปิดอบรมในปี พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน มีผู้มาอบรมจำนวน 4,105 คน (ข้อมูล ณ กรกฎาคม 2558)
หลักสูตรในการอบรม ได้แก่ เทคนิคการเลือกเมล็ดพันธุ์ การเพาะการปลูก, การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์, การทำน้ำจุลินทรีย์ตัวขยาย (ขยะหอม), การทำฮอร์โมน, การทำปุ๋ยใบไม้จากขยะเศษอาหาร, การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ การทำน้ำยาเอนกประสงค์
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้มาเยี่ยมชมในปี 2551 ถึงปัจจุบัน 7,863 คน หน่วยงานและสื่อมวลชน จำนวน 320 ราย (ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 58) จากการที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และประกอบกับมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และมีการพัฒนาอย่างโดดเด่น สามารถเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน สำนักงานเขตหลักสี่ จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติแกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่ และได้ต่อยอดลงสู่ลานดิน ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างรกร้างนำมาทำประโยชน์ โดยขอใช้พื้นที่จากเจ้าของดินที่เป็นหน่วยงานราชการและเอกชน จำนวน 9 แห่ง ต่อมาในช่วงพฤศจิกายน 2557 ได้ขยายผลลงสู่ลานปูน ซึ่งใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถสำนักงานเขตหลักสี่ เพียง 336 ตร.ม. ทำไร่นาสวนผสมแบบพอเพียง โดยปลูกข้าว เลี่ยงไก่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก และทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนกงานเขตหลักสี่ ได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายจุมพล สำเภาพล) เป็นประธานในพิธีเปิด ศูนย์การเรียนรู้ฯ
มาทำหลังคาให้เป็นสีเขียว กินได้ พื้นที่น้อยสามารถปลูกพืชผักได้
ถ้าพูดถึงสภาพในชุมชนเมือง ทุกคนจะนึกถึงตึกอาคารสูงๆ บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยน้อยพื้นที่จำกัด จะปลูกผัก ทำสวน มีดาดฟ้า เอาต้นไม้ขึ้นไปปลูก กลัวตึกพัง ไม่มีพื้นที่ ปลูกพื้นผักบนพื้นปูน ต้นไม้ไม่ตายหรือ มีมากมายหลายคำถาม ปัญหาสำหรับคนเมืองที่อยากปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงาม และพืชผักไว้รับประทานเอง ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนกงานเขตหลักสี่ มีเทคนิคและวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ แบบพอเพียงบนพื้นที่จำกัด
ถ้าพูดถึงสภาพในชุมชนเมือง ทุกคนจะนึกถึงตึกอาคารสูงๆ บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยน้อยพื้นที่จำกัด จะปลูกผัก ทำสวน มีดาดฟ้า เอาต้นไม้ขึ้นไปปลูก กลัวตึกพัง ไม่มีพื้นที่ ปลูกพื้นผักบนพื้นปูน ต้นไม้ไม่ตายหรือ มีมากมายหลายคำถาม ปัญหาสำหรับคนเมืองที่อยากปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงาม และพืชผักไว้รับประทานเอง ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนกงานเขตหลักสี่ มีเทคนิคและวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ แบบพอเพียงบนพื้นที่จำกัด สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปลูกผักบนดาดฟ้า ดังนี้
1) น้ำหนัก ควรคำนึงถึงเรื่องการรับน้ำหนักเป็นอันดับแรก เพราะจะมีผลกับการออกรูปแบบการปลูกผัก โดยปกติพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 200 กิโลกรัม จึงใช้วางแปลงปลูกผักหรือซุ้มผักที่มี น้ำหนักไม่มาก และวางแบบกระจาย ส่วนพื้นที่บริเวณคานสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 400 – 600 กิโลกรัม จึงใช้วางไม้กระถางใหญ่ ๆ ที่มีน้ำหนักมากได้
2) ความชื้น ถ้ามีน้ำท่วมขัง จะทำให้มีปัญหา โครงสร้างของตึก ควรลงน้ำยากันซึม ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และควรมีท่อระบายน้ำด้านข้างอย่างน้อยข้างละ 4 จุด เพื่อให้น้ำระบายออกได้
3) ความร้อนและแรงลมบนดาดฟ้า มักประสบปัญหาความร้อนจากแสงแดดและความแรงลมต้องปลูกไม้เถาที่ความเหนียวไว้บังแดด และแสงแดด ลมมาทางไหนก็จะปลูกเป็นกำแพง ซึ่งจะช่วยลดระดับความแรงลมได้และให้ร่มเงากับแปลงผักช่วงล่าง หรืออาจเลือกปลูกเสาวรส องุ่น สับปะรด หรือต้นกล้วยพันธุ์เตี้ยก็ได้
4) ความสะอาดและการดูแลความเรียบร้อย ความสะอาดของพื้นที่บนดาดฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะใบไม้มาก ถ้าใบไม้ เศษดินที่ร่วงหล่นไปในท่อระบายน้ำ อาจทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน จึงต้องกวาดทำความสะอาดพื้นที่รอบๆ แปลงทุกวัน เศษดินเล็กๆ น้อยๆ กวาดลงในแปลงเศษผักใบไม้จะถูกนำมาหมักเป็นปุ๋ย
การทำแปลงปลูกผัก (Preparing Veggie Patches)
4.1 การทำแปลงปลูก
การทำการเกษตรบนพื้นปูนจะมีปัญหาในเรื่องของความร้อน เคล็ดลับการเตรียมแปลงปลูกบนดาดฟ้า จึงใช้กาบมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก บรรจุในกระบะไม้ที่ทำขึ้นจากเศษไม้ แปลงปลูกผัก ขนาดมาตรฐานของศูนย์การเรียนรู้ฯ คือ ขนาดประมาณ กว้าง 1.20 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 20 – 30 เซนติเมตร สามารถออกแบบขนาดของแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยให้มีช่องทางเดินระหว่างแปลง ประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน
ขั้นตอนในการทำแปลงปลูก มีดังนี้
1) นำกิ่งไม้หรือไม้รวกมาก่อเป็นแบบแปลงสิ่งเหลี่ยมในขนาดที่ต้องการ มัดติดด้วยลวด
2) นำกระสอบปุ๋ยมาเย็บติดกันขนาดเท่าแปลงและตีติดกับแปลง
3) นำแผ่นฟิวเจอร์เบอร์ตัดตามขนาดที่ต้องการตีติดกับแปลง จะช่วยป้องกันและลดระยะเวลาการผุผังของไม้แบบแปลง แปลงปลูกผักของศูนย์การเรียนรู้ฯ ขนาดประมาณ กว้าง 1.20 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 20 – 30 เซนติเมตร หรือสามารถออกแบบขนาดของแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยให้มีช่องทางเดินระหว่างแปลง ประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน
4.2 การผสมดินปลูก
การปลูกผักดาดฟ้า ถ้าใช้ดินอย่างเดียวนอกจากจะมีน้ำหนักมาก ยังทำให้ผักเหี่ยวเฉา เนื่องจากดินจะดูดความร้อนจากพื้นปูนไปสู่ต้นไม้ ดังนั้นจึงควรใช้กาบมะพร้าวใส่ลงไปร่วมกับดิน ซึ่งกาบมะพร้าวจะเป็นตัวดูดซับความชื้นและช่วยกรองความร้อนจากพื้นปูนได้ดี ขั้นตอนการเตรียมดินในแปลงปลูก 1) นำกาบมะพร้าวมาวางให้ทั่วทั่วแปลง โรยดินไว้ด้านบน อัตราส่วนกาบมะพร้าว 2 ส่วน (ครึ่งหนึ่งของแปลงปลูก) ดิน 1 ส่วน (กาบมะพร้าวสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด) ส่วนดินที่ใช้ปลูกผักก็คือดินทั่วไป หรือดินบรรจุถุงที่มีจำหน่ายตามร้านขายต้นไม้
2) โรยจุลินทรีย์แห้งหรือปุ๋ยแห้งลงไปในดินเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร อัตราส่วนที่ใช้ ปุ๋ยแห้ง 1 กำมือต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โรยบางๆ ที่หน้าดินให้ทั่วแปลง ใช้จอบสับเพื่อคลุกเคล้าให้เข้ากัน และรดน้ำให้ชุ่ม กรณีกาบมะพร้าวและดินในแปลงยุบตัว เนื่องจากจุลินทรีย์ย่อยสลาย ให้เติมกาบมะพร้าวสับตากแห้ง เศษใบไม้ใบพืชสับตากแห้งและดินลงไปอีกเล็กน้อย โดยปกติจะมีการเปลี่ยนกาบมะพร้าวและดินในแปลงปลูกทุก 6 เดือน โดยตักดินและกาบมะพร้าวที่ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายจนนิ่มเอาออกจากแปลงเดิม ใส่กาบมะพร้าวใหม่ลงไปและนำดินที่ตักออกใส่กลับไปบนกาบมะพร้าว ทำเหมือนขั้นตอนแรก
การทำฮอร์โมนถั่วเหลือง
ฮอร์โมนถั่วเหลือง มีประโยชน์ในการใช้รดพืชผัก เร่งต้น เร่งใบ ทำให้ใบกรอบ รสชาติอร่อย ลำต้นไม่แคระแกรน และยังช่วยส่งเสริมทางกายภาพทำให้สารต่างๆ เคลื่อนที่ผ่านผนังเซลล์ได้ง่ายขึ้น ส่วนผสม 1) ถั่วเหลืองผ่าซีก 1 กิโลกรัม แช่น้ำไว้ 1 คืน นำมาปั่นให้ละเอียด โดยผสมกับน้ำ 8 ลิตร (กรองเอาเฉพาะน้ำแยกกากออก) 2) กลูโคลินผล 4 ขีด 3) น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม 4) น้ำมะพร้าวอ่อน 4 ลูก 5) โยเกิร์ต (รสธรรมชาติ) 1 ถ้วย (บรรจุ 140 ถ้วย) 6) น้ำส้มสายชู (เทียม) ½ ขวด
วิธีทำ
1) นำน้ำถั่วเหลืองและส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากัน 2) ใส่ถังปิดฝาซีลให้แน่นหมักไว้ 1 เดือน 3) นำไปปั่นอีก 1 ครั้ง บรรจุใส่ขวดนำไปใช้งาน
วิธีใช้ ฮอร์โมนถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด รดวันเว้นวัน
พืชผักสวนครัว พืชผักสวนครัว หมายถึง พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือหน่วยงาน อาจปลูกลงแปลงหรือในภาชนะต่าง ๆ เพื่อใช้บริโภคในครอบครัวและลดรายจ่ายรวมทั้งเกิดความปลอดภัยในการบริโภค ถ้าหากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งพืชผักสวนครัวตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) ใช้ผลหรือฝักเป็นอาหาร เช่น แตงกวา มะเขือเปราะ มะเขือเทศ พริก ถั่วฝักยาว ถั่วพู
2) ใช้ใบหรือลำต้นเป็นอาหาร เช่น ชะอม ต้นหอม ผักชี โหระพา ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง กะเพรา ตะไคร้ สะระแหน่
3. ใช้ดอกเป็นอาหาร เช่น ดอกแค ดอกขจร ดอกโสน กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่
4) ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า กระชาย ผักกาดหัว หอมหัวใหญ่ แครอท กระเทียม
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
การปลูกพืชผักสวนครัวในภาชนะต่างๆ
1) การปลูกผักชีในกระถางตั้งพื้น
2) การปลูกสะระแหน่ในกระถางแขวน
3) การปลูกต้นหอมในยางของรถยนต์
4) การปลูกพริกในถังพลาสติก
การปลูกพืชผักสวนครัว (กะเพรา) (Basil)
วัสดุอุปกรณ์
ต้นกล้า กระถางปลูกต้นไม้ กาบมะพร้าวสับ ดินผสมปุ๋ย ไม้ปลายแหลมเหมือนแท่งดินสอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว สำหรับเจาะหลุม อาหารของพืช (ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนถั่วเหลือง) บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1) ตัดถุงพลาสติกเป็นวงกลมเท่ากับก้นของกระถางปลูกต้นไม้
2) ใส่แผ่นวงกลมของถุงพลาสติกลงใต้ก้นของกระถางปลูกต้นไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ดินไหลเมื่อรดน้ำ 3) ใส่กากมะพร้าวสับ ½ ของกระถาง เพื่อเก็บความชื้น
4) ใส่ดินให้เกือบเต็มกระถางและใส่ปุ๋ยหมักให้เต็มกระถาง
5) รดน้ำลงในกระถางเพื่อให้ดินเกิดความชุ่มชื้น
นำไม้ปลายแหลมปลักลงไปตรงกลางกระถาง เพื่อทำเป็นหลุมในการปลูกต้นพืช นำต้นกล้ากะเพราที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหลุมปลูกในกระถางแล้วกดดินรอบบริเวณของต้นกล้าให้แน่น เด็ดยอดของต้นกล้ากะเพราะออกเล็กน้อย เพื่อให้ต้นกะเพราโตมาแตกเป็นพุ่มและไม่สูง ผสมอาหารของพืช 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร ลงในบัวรดน้ำ แล้วนำไปรดต้นพืชในกระถาง วันเว้นวันให้ชุ่ม เพื่อเร่งต้นและใบของต้นพืช พอต้นกล้าตั้งตัวได้ 3 วัน ให้เริ่มใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร สลับกับฮอร์โมนถั่วเหลืองอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ในการรดน้ำต้นพืชเช้าเย็น ประมาณ 20 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ (ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช)
บรรณานุกรม
ฝ่ายรักษาความสะอาด สำนักงานเขตหลักสี่. (2558). คู่มือการทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง บนพื้นที่จำกัด. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
http://www.bangkok.go.th/laksi/page/sub/6548/สวนเกษตรดาดฟ้าhttp://www.iadth.com/https://guru.sanook.com/21594/https://www.allkaset.com/contents/ประเภทของผักสวนครัว-42.phphttps://www.baanlaesuan.com/60911/plant-scoop/tum_leunghttps://www.lazada.co.th/products/200-300-i651416682.htmlhttps://www.palangkaset.com/ปลูกถั่วพู-1http://zoo-za.com/https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1632&code_db=610010&code_type=01https://www.baannode.com/product/18703/chinese-kale-คะน้ายอดhttps://www.kasetsomboon.com/producthttps://www.blockdit.com/posts/5dce1322e94a9d7676a9297fhttps://medthai.com/กะหล่ำดอกhttps://puechkaset.com/บร็อคโคลี่http://www.monmai.com/แค/https://puechkaset.com/ผักขจรhttp://thaiherbonly.blogspot.com/2012/01/zingiber-officinale-roscoe.htmlhttp://www.the-than.com/samonpai/P/9.htmlhttps://thailandjuicer.com/กระชาย/https://www.sanook.com/health/7213/https://attaponsamruamjit.wordpress.com/หัวผักกาด/https://www.youtube.com/watch?v=IcB-t4xtj24
Words You Should Know
Vocabulary : สวนเกษตรดาดฟ้า
Vegetable (เวจ-จิ-ทะ-เบิล) แปลว่า ผัก Herb (เฮิบ) แปลว่า สมุนไพร Summer (ซัม-เมอร์) แปลว่า ฤดูร้อน Winter (วิน-เทอะ) แปลว่า ฤดูหนาว Papaya (พะ-พา-ยา) แปลว่า มะละกอ Orange (ออ-เร้นจ) แปลว่าส้ม Learning (เลิน-นิ่ง) แปลว่า การเรียนรู้ Backyard garden (แบค-เยิร์ด-การ์-เดิน) แปลว่า ผักสวนครัว Plant (แพลนท) แปลว่า เพาะปลูก Organic Farming (ออร์-แกน-นิค-ฟาร์ม-มิ่ง) แปลว่า การทำเกษตรอินทรีย์
แบบทดสอบหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่
คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ให้ตรงกับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง
สวนเกษตรดาดฟ้า ของสำนักเขตหลักสี่ อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของหน่วยงานใด ก. ฝ่ายโยธา ข. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ค. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ง. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณ พื้นที่สวนเกษตรดาดฟ้า เขตหลักสี่ ได้แบ่งการปลูกพืชออกเป็นกี่โซน อะไรบ้าง ก. 5 โซน แบ่งเป็น โซนผัก โซนผลไม้ โซนสมุนไพร โซนไม้ยืนต้น โซนไม้ดอกไม้ประดับ ข. 4 โซน แบ่งเป็น โซนผัก โซนผลไม้ โซนสมุนไพร โซนไม้ยืนต้น ค. 3 โซน แบ่งเป็น โซนผัก โซนสมุนไพร โซนไม้ยืนต้น ง. 2 โซน แบ่งเป็น โซนผัก โซนสมุนไพร ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปลูกผักบนดาดฟ้า ก. น้ำหนัก, ความชื้น ถ้ามีน้ำท่วมขัง ข. การวางแผนการจัดสวนให้เป็นระเบียบ ค. ความร้อนและแรงลมบนดาดฟ้า ง. ความสะอาดและการดูแลความเรียบร้อย ข้อใดกล่าวถึงผักสวนครัวได้ถูกต้อง ก. ต้นไม้ที่ปลูกในบ้าน ใช้พืชที่น้อย ข. ดอกไม้ที่ปลูกหลังบ้าน ใช้พื้นที่มาก ค. ผักที่ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนใช้พื้นที่มาก ง. ผักที่ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนใช้พื้นที่ปลูกน้อย ภาชนะข้อใดเหมาะสำหรับปลูกผักสวนครัวมากที่สุด ก. โอ่งใบใหม่ ข. อ่างแก้วราคาแพง ค. กระถางดินเผาใบใหม่ ง. กะละมังที่มีรอยแตกเล็กน้อย เพราะเหตุใดการปลูกพืชผักสวนครัวในภาชนะ จึงต้องมีการพรวนดิน ก. ทำให้ดินมีแร่ธาตุสำหรับผักมากขึ้น ข. ทำให้ดินมีความละเอียด เนื้อเนียนมากขึ้น ค. ทำให้ดินมีช่องว่างสำหรับไส้เดือนมาชอนไชให้ดินร่วนซุย ง. ทำให้ดินร่วน ช่วยให้ต้นพืชดูดซึมน้ำ อากาศ และปุ๋ยได้อย่างสะดวก ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการปลูกพืชได้ถูกต้อง ก. คัดเลือกเมล็ดพันธ์ เตรียมดิน เก็บเกี่ยวผลผลิต ปลูกพืช ดูแลรักษา ข. คัดเลือกเมล็ดพันธ์ เตรียมดิน ปลูกพืช ดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต ค. ปลูกพืช คัดเลือกเมล็ดพันธ์ ดูแลรักษา เตรียมดิน เก็บเกี่ยวผลผลิต ง. เตรียมดิน คัดเลือกเมล็ดพันธ์ เก็บเกี่ยวผลผลิต ดูแลรักษา ปลูกพืช ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของฮอร์โมนถั่วเหลือง ก. ช่วยเร่งดอก เร่งผล ข. ช่วยเร่งต้น เร่งใบ ค. ทำให้ใบผักกรอบ รสชาตอร่อย ง. ช่วยส่งเสรมทางกายภาพทำให้สารต่างๆ เคลื่อนที่ผ่านผนังเซลล์ได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ปลูกต้นกล้ากะเพราลงไปในกระถางเรียบร้อยแล้ว เพราะเหตุใดจึงต้องเด็ดยอดของต้นกล้ากะออกเล็กน้อย ก. เพื่อให้รากของต้นกล้ากะเพราติดได้เร็วขึ้น ข. เพื่อให้ต้นกล้ากะเพราเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ค. เพื่อให้ต้นกะเพราโตมาแตกเป็นพุ่มและไม่สูง ง. เพื่อให้น้ำในใบของต้นกล้าลดการคายน้ำออกมา การเก็บเกี่ยวใบกะเพราควรใช้วิธีใด ก. ใช้มือเด็ด ข. ใช้มือถอน ค. ใช้จอบขุด ง. ใช้ตะกร้าสอย
หลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำชี้แจง แบบทดสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ให้ตรง
กับตัวเลือกในข้อ ก ข ค หรือ ง
Start Quiz
Question
Your answer:
Correct answer:
Next
You got {{SCORE_CORRECT}} out of {{SCORE_TOTAL}}